Powered By Blogger

2012/08/28

บันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน

วันจัทนร์ ที่ 13 สิงหาคม 2555

 ภาคเช้า

                  รับเด็กหน้าเสาธง
                  คุมแถวหน้าเสาธง
                  เข้าสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1

ภาคบ่าย
                  คุมเด็กเข้าแถวกลับบ้าน

วันอังคาร์ ที่ 14 สิงหาคม 2555
ภาคเช้า

2012/08/14

บันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555


ภาคเช้า

     รับเด็กนักเรียนหน้าประตูพร้อมกับครูพี่เลี้ยง
     ทำกิจกรรมหน้าเสาธง
     พออาจารพี่เลี้ยง และรับตารางสอน
     เข้าพบปะพูดคุยกับนักเรียนชั้นป.4/1 ในคาบแรก

ภาคบ่่าย

     เข้าสอนนักเรียนชั้นป.4/1ในคาบที่สอง
  

วันอังคาร์ ที่ 7 สิงหาคม 2555


ภาคเช้า
          คุมนักเรียนเก็บขยะบริเวณโรงเรียน
          ทำกิจกรรมหน้าเสาธง
          


ภาคบ่่าย

     เข้าสอนนักเรียนชั้นป.4/1ในคาบที่สาม


วันพุธ ที่  8 สิงหาคม 2555
    

ภาคเช้า


      คุมนักเรียนเก็บขยะบริเวณโรงเรียน
      ทำกิจกรรมหน้าเสาธง


ภาคบ่าย
      
     ช่วยจัดการเรียนการสอนชั้นป. 4/1 คู่กับอาจารย์ชาวต่างชาติ Aj. Roze


วัน พฤหัสบดี ที่  9 สิงหาคม 2555

ภาคเช้า

      คุมนักเรียนเก็บขยะบริเวณโรงเรียน
      ทำกิจกรรมหน้าเสาธง


ภาคบ่าย
      
     กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ โดยทางโรงเรียนให้แต่ละชั้นปีเขียนเรียงความเรื่องแม่และทำการ์ดวันแม่ เพื่อส่งเข้าประกวด


วัน ศุกร์ ที่  10  สิงหาคม 2555


ภาคเช้า

      คุมนักเรียนเก็บขยะบริเวณโรงเรียน
      ทำกิจกรรมหน้าเสาธง


ภาคบ่าย
      
     กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ โดยทางโรงเรียนให้แต่ละชั้นปีแข่งขันร้องเพลงวันแม่ และ มีการแสดงเรื่องในวันแม่แห่งชาติ








2012/07/11

เรียนรู้เรื่องของ Blogger เพิ่มเติม

วันนี้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพิ่ม link ของเพื่อน และการเพิ่มApplications ต่างๆในส่วนของ blogger เช่น การเพิ่ม Calender, Counter and Clock

2012/07/03

สาระมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


สาระ
              สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐานการเรียนรู้
              มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็น โดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มาตรฐาน ต ๑.๓ เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ


สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นและเป็น พื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๑ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

มาตรฐาน ต ๔.๒ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ การสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จัดทำขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานำไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน


วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
 หลักการ
           
              1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้                   เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
5.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์  

จุดหมาย
          
1.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
3.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   

สมรรถนะของผู้เรียน
           สมรรถนะหมายถึงความสามารถทางใดทางหนึ่ง  หลักสูตรใหม่เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ 5 ประการ คือ  การสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะ-ชีวิต  และการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
            หลักสูตรเดิมไม้มีการกล่าวถึง  หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์,  ซื่อสัตย์สุจริต,  มีวินัย,  ใฝ่เรียนรู้.  อยู่อย่างพอเพียง,  มุ่งในการทำงาน,  รักความเป็นไทย,  มีจิตสาธารณะ
            สถานศึกษาสามารถกำหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมได้

มาตรฐานการเรียนรู้
            เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน    มาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม  และค่านิยมเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการเรียนรู้
มี 8 กลุ่มสาระ  คือ  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สุขศึกษาและพละศึกษา  ศิลปะ  การงานและเทคโนโลยี  ภาษาต่างประเทศ  มาตรฐานการเรียนรู้
จะสะท้อนให้ทราบว่า  ต้องการอะไร  สอนอย่างไร  ประเมินอย่างไร

ตัวชี้วัด
            ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ตัวชี้วัด
นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้  การจัดการสอน  เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน  ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ  ตัวชี้วัดชั้นปี  และตัวชี้วัดช่วงชั้น
            ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1–ม.3   (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี)
ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.6 (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนเฉพาะในระดับม. ปลาย)

รหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
            ว.1.1  ป.1/2      ว.หมายถึง วิทยาศาสตร์  1.1 หมายถึง   สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 1
                                    ป.1/2 หมายถึง ตัวชี้วัดชั้น ป.ข้อที่ 2



หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้
     เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร : เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ
เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ทักษะการแก้ปัญหา
4. ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
·         ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ
·         ปรับ ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี : ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ จะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา
·         กำหนดสาระการ เรียนรู้แกนกลาง : กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นจุดร่วมที่ผู้เรียนให้ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น
·         ปรับ โครงสร้างเวลาเรียน : กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละปีไว้ โดยเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆ และในกลุ่มสาระต่างๆ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียน มากขึ้น
·         ปรับเกณฑ์การวัดประเมินผล : ระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต และกำหนดให้การบริการสังคม (Community Service) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม