หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551
มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้
เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร : เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ
เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
:
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ทักษะการแก้ปัญหา
4. ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ทักษะการแก้ปัญหา
4. ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
·
ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์
: มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย
และมีจิตสาธารณะ
·
ปรับ
ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี : ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ
จะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น
รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา
·
กำหนดสาระการ
เรียนรู้แกนกลาง : กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นจุดร่วมที่ผู้เรียนให้ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้
ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น
·
ปรับ
โครงสร้างเวลาเรียน : กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละปีไว้ โดยเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆ และในกลุ่มสาระต่างๆ
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียน
มากขึ้น
·
ปรับเกณฑ์การวัดประเมินผล
: ระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค
ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต
และกำหนดให้การบริการสังคม (Community Service) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
No comments:
Post a Comment